X

AEON THAI MOBILE
AEON Thana Sinsap (Thailand) PLC FREE -On The App Store

Open

การกำกับดูแลกิจการ

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

บริษัทฯ คำนึงถึงความสำคัญในเรื่องของการดำรงรักษาไว้ซึ่งหลักธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นปัจจัยในการสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น และช่วยเสริมสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นส่งเสริมการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (Corporate Governance Code: “CG Code”) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยแบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้

หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น

บริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม มีการสนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกราย ทุกกลุ่ม ได้ใช้สิทธิต่างๆ ทั้งในฐานะนักลงทุนในหลักทรัพย์ และในฐานะเจ้าของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และโปร่งใสผ่านช่องทางการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเว็บไซต์ของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิของตนขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงสิทธิการซื้อขายหรือโอนหุ้น การได้รับส่วนแบ่งปันผลจากบริษัทฯ สิทธิการเข้าร่วมประชุมเพื่อมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนและเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและซักถามในที่ประชุมผู้ถือหุ้น นอกเหนือจากสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆข้างต้นแล้ว บริษัทฯได้ดำเนินการในเรื่องอื่นๆที่เป็นการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นเพิ่มเติม ดังนี้

  • บริษัทฯ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจนและทันต่อเหตุการณ์ โดยเปิดเผยข้อมูลผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ฯ สื่อหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆรวมถึงเว็บไซต์ของบริษัทฯ และจัดให้มีช่องทางที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถติดต่อขอข้อมูลได้โดยตรงผ่านทาง E-mail Address ของหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์
  • บริษัทฯ กำหนดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือนนับจากวันสิ้นสุดรอบบัญชี โดยในปี 2564 บริษัทฯ มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมด 1 ครั้ง และในระหว่างปีไม่มีการจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 เวลา 10.00 น. เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของผู้เข้าร่วมประชุม บริษัทฯ จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting ) ณ ห้องประชุม อาคารเอ็กเชนทาวเวอร์ เลขที่ 388 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โดยบริษัทฯ เผยแพร่แนวปฏิบัติการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Meeting) และ คู่มือสำหรับวิธีการเข้าประชุมสามัญผู้ถือหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านทางเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์และบริษัทฯ และได้จัดส่งหนังสือนัดประชุมพร้อมทั้งข้อมูลประกอบการประชุมตามวาระต่างๆ พร้อมความเห็นของคณะกรรมการ รวมถึงข้อบังคับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือมอบฉันทะ รายชื่อของกรรมการอิสระทั้งหมด ส่งให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 15 วัน ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดทำหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นฉบับภาษาอังกฤษและเผยแพร่พร้อมกับหนังสือเชิญประชุมฉบับภาษาไทย เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติอีกด้วย

    นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นยังสามารถเข้าดูข้อมูล เกี่ยวกับระเบียบวาระการประชุมแต่ละครั้งได้ทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ เป็นการล่วงหน้าก่อนวันประชุม 30 วัน สำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และได้ประกาศลงในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นเวลาติดต่อกัน 3 วัน ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535

    บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้กรรมการอิสระหรือบุคคลใดๆ เข้าร่วมประชุมแทนตนได้ โดยใช้หนังสือมอบฉันทะแบบหนึ่งแบบใดที่บริษัทฯ ได้จัดส่งไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางการออกเสียงลงคะแนนได้ตามแบบที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์กำหนด พร้อมข้อมูลของกรรมการอิสระที่บริษัทฯ กำหนดให้เป็นผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น สำหรับผู้ถือหุ้นที่เป็นนักลงทุนสถาบันหรือผู้ถือหุ้นที่เป็นนักลงทุนต่างประเทศและแต่งตั้งให้คัสโตเดียน (Custodian) ในประเทศไทยเป็นผู้รับฝากและดูแลหุ้น บริษัทฯ ได้ประสานงานเรื่องเอกสารและหลักฐานที่ต้องแสดงก่อนเข้าร่วมประชุมเป็นการล่วงหน้า เพื่อให้การลงทะเบียนในวันประชุมเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น

  • บริษัทฯ เปิดให้ผู้ถือหุ้นที่ลงทะเบียนไว้ล่วงหน้าถึงความประสงค์ที่จะเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถเข้าสู่ระบบการประชุมได้ล่วงหน้าก่อนเวลาประชุมอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ตามคู่มือวิธีการเข้าประชุมสามัญผู้ถือหุ้นที่บริษัทได้เผยแพร่และส่งให้ผู้ถือหุ้นก่อนล่วงหน้า เพื่อที่การประชุมจะดำเนินไปได้ด้วยความสงบเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำถามเกี่ยวกับการประชุมถึงบริษัทฯล่วงหน้าก่อนวันประชุมอย่างน้อย 15 วัน
  • ก่อนเริ่มการประชุมผู้ถือหุ้น เลขานุการบริษัทฯ ได้ชี้แจงวิธีการลงคะแนนและวิธีการนับคะแนนอย่างชัดเจน โดยการออกเสียงลงคะแนนจะนับ 1 หุ้น เป็น 1 เสียง โดยบริษัทฯ ได้จัดให้มีตัวแทนจากสำนักกฎหมายมาเป็นผู้สังเกตการณ์ ในการนับคะแนนด้วยเพื่อความโปร่งใสและจัดแยกการลงคะแนนเสียงสำหรับแต่ละเรื่องอย่างชัดเจน เพื่อรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นด้วย นอกจากนี้ การนับคะแนนจะถือเสียงข้างมากเป็นมติ ยกเว้นกรณีการลงมติที่กำหนดให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
  • ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งประธานกรรมการอยู่ต่างประเทศ จึงได้เข้าร่วมประชุมผ่านช่องทางออนไลน์ และได้ มอบอำนาจให้ กรรมการบริษัท ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมและดำเนินการประชุม โดยมีกรรมการเข้าร่วมประชุมทั้งหมดจำนวน 12 ท่าน ตามลำดับอีกทั้งมีผู้ตรวจสอบบัญชีและที่ปรึกษากฎหมายของบริษัทฯ เข้าร่วมประชุมด้วย โดยประธานในที่ประชุมจัดสรรเวลาการประชุมอย่างเหมาะสม และเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิอย่างเท่าเทียมในการแสดงความคิดเห็นและซักถามในที่ประชุม บริษัทฯ จัดให้มีการจดบันทึกรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นอย่างครบถ้วน รวมทั้ง ประเด็นคำถามและข้อคิดเห็นไว้ในรายงานการประชุม
  • บริษัทฯ ได้เผยแพร่สรุปผลการลงมติในที่ประชุม พร้อมผลคะแนนของแต่ละวาระให้ผู้ถือหุ้นและประชาชนทั่วไปได้รับทราบผ่านช่องทางการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันเดียวกันหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม และเผยแพร่รายงานการประชุมผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทภายใน 14 วัน

 

หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

บริษัทฯ ให้ความสำคัญและดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเป็นธรรม และเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายย่อย นักลงทุนทุกสถาบัน ผู้ถือหุ้นชาวไทย หรือ ผู้ถือหุ้นต่างชาติผู้ถือหุ้นทุกคนถือเป็นเจ้าของบริษัทฯ และมีสิทธิได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึง เพศ อายุ สัญชาติ ทั้งนี้ บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญของบริษัทฯ แจ้งข่าวการดำเนินงานอันมีนัยสำคัญต่างๆให้ผู้ถือหุ้นรับทราบและจัดประชุมผู้ถือหุ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทุกรายใช้สิทธิของตนในการมีส่วนร่วมบริหารบริษัทฯ ดังนี้

  • ประธานในที่ประชุมดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นตามลำดับระเบียบวาระที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุมเสมอ และมีนโยบายที่จะไม่เพิ่มระเบียบวาระในที่ประชุมโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มีโอกาสศึกษาข้อมูลประกอบระเบียบวาระก่อนตัดสินใจ
  • ผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองสามารถมอบฉันทะให้กรรมการที่เป็นอิสระคนใดคนหนึ่งเข้าประชุมและลงคะแนนเสียงแทนได้โดยมีการเสนอรายชื่อของกรรมการอิสระทั้งหมดในหนังสือมอบฉันทะรูปแบบที่สามารถกำหนดทิศทางการลงคะแนนได้ให้แก่ผู้ถือหุ้น เพื่อสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดการลงคะแนนเสียงได้เอ
  • บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำถามล่วงหน้าเกี่ยวกับการประชุม
  • บริษัทฯ ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้บัตรลงคะแนนเสียงสำหรับทุกระเบียบวาระ โดยจัดทำบัตรลงคะแนนแยกตามเรื่องที่สำคัญๆ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถลงคะแนนได้ตามที่เห็นสมควร ซึ่งจะมีการเก็บบัตรลงคะแนนดังกล่าวในห้องประชุม เพื่อนำผลคะแนนมารวมคำนวณกับคะแนนเสียงที่ได้ลงไว้ล่วงหน้าในหนังสือมอบฉันทะก่อนที่จะประกาศแจ้งมติของคะแนนเสียงในห้องประชุม โดยใน ปี 2564 เป็นการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ถือหุ้นสามารถลงคะแนนเสียงผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละวาระที่ประธานในที่ประชุมเปิดให้ลงคะแนนเสียงซึ่งจะมีการเก็บบันทึกการลงคะแนนดังกล่าวในห้องประชุม เพื่อนำผลคะแนนมารวมคำนวณกับคะแนนเสียงที่ได้ลงไว้ล่วงหน้าในหนังสือมอบฉันทะก่อนที่จะประกาศแจ้งมติของคะแนนเสียงในที่ประชุมและมีการรวบรวมข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ (Traffic Data) ตามข้อกําหนดแนบท้ายประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • บริษัทฯ จัดส่งรายงานสรุปผลการลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใน 1 วัน หลังจากเสร็จสิ้นการประชุม และมีการบันทึกรายงานการประชุมอย่างถูกต้อง ครบถ้วน โดยได้จัดส่งรายงานการประชุมให้แก่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต. ภายในระยะเวลา 14 วันนับแต่วันประชุมผู้ถือหุ้น และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ ภายใน 14 วัน
  • บริษัทฯ มีการกำหนดมาตรการป้องกันการที่กรรมการและผู้บริหารจะนำข้อมูลภายในของบริษัทฯ ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ดังนี้
    • ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร รวมถึงคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ใช้ข้อมูลภายในเพื่อทำการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูกเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบโดยทั่วถึง ก่อนที่งบการเงินจะถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน นอกจากนี้ ภายหลังจากที่ข้อมูลได้ถูกเผยแพร่แล้วบุคคลข้างต้นควรละเว้นการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จนกระทั่งประชาชนที่ได้รับข้อมูลดังกล่าวได้มีเวลาประเมินข้อมูลที่ได้รับในระยะเวลาพอสมควรแล้ว(ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง)
    • ให้ความรู้แก่กรรมการรวมทั้งผู้บริหารที่มีหน้าที่ที่จะต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เกี่ยวกับการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทฯ หากกรรมการหรือผู้บริหาร รวมถึงคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่เข้าข่าย มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
    • คณะกรรมการได้กำหนดมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเพื่อผลประโยชน์ของกรรมการและผู้บริหาร โดยกรรมการและผู้บริหารระดับสูงจะต้องแจ้งเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นของบริษัทต่อเลขานุการของบริษัทอย่างน้อย 1 วันล่วงหน้าก่อนทำการซื้อขาย นอกจากนี้ผู้บริหารและกรรมการ จะต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย โอนหรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัท
  • บริษัทฯ กำหนดให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงรายงานการมีส่วนได้เสียของตนและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อเลขานุการบริษัท เพื่อสำเนารายงานเสนอต่อประธานกรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด และรายงานทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ กำลังศึกษากระบวนการในการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอเพิ่มระเบียบวาระการประชุมผู้ถือหุ้น และการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอชื่อบุคคล ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อสรุปคุณสมบัติกรรมการเพื่อเข้ารับเลือกเสนอชื่อเป็นกรรมการ ได้ล่วงหน้าก่อนการประชุม

 

หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่แข่ง คู่ค้า เจ้าหนี้ ตลอดจนสังคม และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นเรื่องที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยบริษัทฯมีหน้าที่ดูแลรักษาสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มตามข้อตกลงที่มีอยู่อย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามกฎหมาย โดยบริษัทฯ มีแนวทางการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียดังนี้

1. แนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ

  • ผู้ถือหุ้น
  • บริษัทฯ ให้ความสำคัญและเคารพต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเสมอภาค และมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น โดยมุ่งเน้นในด้านการเติบโตที่ยั่งยืนของธุรกิจ กระตือรือร้นที่จะบริหารงานอย่างถูกต้องในเชิงปฏิรูปเพื่อสร้างผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้นทุกท่าน เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยหลังจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อปี 2544 บริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญให้กับผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้อง เพียงพอ โปร่งใส เป็นธรรม และเชื่อถือได้ ตลอดจนดูแลและอำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นให้ใช้สิทธิของตนอย่างเต็มที่

  • พนักงาน
  • บริษัทฯ ตระหนักดีว่าพนักงานทุกคนถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญและเป็นพลังขับเคลื่อนธุรกิจ จึงได้สรรหาและว่าจ้างบุคลากรที่มีความสามารถและประสบการณ์เข้ามาปฏิบัติงาน โดยพนักงานได้รับผลตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ ที่เหมาะสม รวมถึงได้รับรางวัลในผลการทำงานเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งสนับสนุนด้านการพัฒนาทักษะและการศึกษาอบรมให้แก่พนักงาน เพื่อสร้างมาตรฐานในด้านการบริการลูกค้า รวมถึงสนับสนุนให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดีเพื่อให้เอื้อต่อการทำงาน

  • ลูกค้า
  • บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อความพึงพอใจของลูกค้าเป็นลำดับแรก โดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางเสมอและมอบการบริการด้านการเงินที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ตรงตามความต้องการของลูกค้าในขณะที่ยังรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มบริษัทโดยไม่สร้างความเสียหายแก่ลูกค้าดังต่อไปนี้

    - ยึดมั่นในการส่งเสริมความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้จัดให้มีระบบการบริหารควบคุมความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดูได้ที่หัวข้อการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนหน้า 88

    - บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการปรับปรุุงคุณภาพการให้บริการของพนักงาน เพื่่อเพิ่่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่่งลููกค้าสามารถแจ้งติชมการให้บริการของพนักงานสาขาและมินิเคาน์เตอร์ภายหลังจากเสร็จสิ้้นการใช้บริการที่่สาขา พนักงานจะกรอกรายละเอียดผ่านระบบ Customer Voice หลังจากสอบถามลููกค้าเกี่่ยวกับการให้บริการของพนักงานโดยหัวข้อหลักในการสำรวจความคิดเห็นประกอบด้วย 2 หัวข้อ คือ “การให้บริการของพนักงาน” และ “คุุณภาพการให้บริการของสาขา” โดยหน่วยงานที่่เกี่่ยวข้องจะรวบรวมข้อมูลทุกเดือน และรายงานข้อเสนอแนะที่่เป็นประโยชน์ไปยังผู้บริหาร เพื่่อพิจารณาถึงแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุุงการบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของลููกค้า

    - จัดทำ“โครงการสำรวจความพึงพอใจของลููกค้า” ซึ่่งลููกค้าสามารถให้คะแนนประเมินความพึงพอใจหลังจากการใช้บริการฝ่ายบริการลููกค้าโดยทำรายการผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติและแบบสอบถามความคิดเห็นหลังใช้บริการผ่าน Line, Facebook Messenger เพื่่อการพัฒนาและปรับปรุุงบริการของฝ่ายบริการลููกค้าอย่างต่อเนื่อง และเพิ่่มความพึงพอใจให้กับลููกค้ายิ่่งขึ้้นอีกหนึ่่งช่องทาง ได้แก่ การแสดงความคิดเห็นผ่านแบบฟอร์มฯ การรับฟังความคิดเห็นบนหน้าเว็บไซต์ของบริษัทฯ

  • คู่แข่ง
  • บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบกติกาการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีจริยธรรม และปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมายทีเกี่ยวข้อง ไม่แสวงหาข้อมูลซึ่งเป็นความลับของคู่แข่งโดยวิธีที่ไม่สุจริต ไม่เอาเปรียบคู่แข่งด้วยวิธีที่ไม่ชอบทางกฎหมาย หรือพยายามทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งด้วยการกล่าวหาให้ร้ายโดยไร้มูลความจริง และไม่กระทำการอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิหรือทรัพย์สินทางปัญญาของคู่แข่งโดยมิชอบ โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทไม่มีข้อพิพาทใดๆในเรื่องที่เกี่ยวกับคู่แข่งทางการค้า

  • คู่ค้า
  • บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับคู่ค้าและมุ่งมั่นสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกับบริษัทคู่ค้าด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างเที่ยงธรรม และความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจฯ ส่วนหนึ่งมาจากการได้รับการสนับสนุนจากคู่ค้า บริษัทฯ จึงได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขและสัญญาทางธุรกิจต่างๆ อย่างเคร่งครัดเพื่อมุ่งสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อคู่ค้าในระยะยาว ดังต่อไปนี้

    - ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติในการสรรหา คัดเลือกและประเมินคู่ค้า

    - ร้องขอให้บริษัทคู่ค้าปฏิบัติตามมาตราฐานสากลและนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง

    - ปฎิบัติตามนโยบายของบริษัทอย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับการรับของมีค่า หรือของพิเศษใดๆจากบริษัทคู่ค้า

    - สร้างความสัมพันธ์ที่่ดีกับคู่ค้า

  • เจ้าหนี้
  • บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการกู้ยืมเงินตามข้อตกลง สัญญา หรือ เงื่อนไขต่างๆ ที่่ตกลงกันไว้และหน้าที่ที่พึงมีต่อเจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด เช่น สถาบันการเงิน เจ้าหนี้ทางธุรกิจและผู้ถือหุ้นกู้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการรับผิดชอบในการปฏิบัติตามข้อผูกพัน ภายใต้กฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ (พ.ศ.2540) ตามที่บริษัทฯ ได้จัดตั้ง และใช้บริษัทนิติบุคคลเฉพาะกิจระดมทุนโดยออกหุ้นกู้

  • สังคมและสิ่งแวดล้อม
  • บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆที่มุ่งรักษาสิ่งแวดล้อมและให้ประโยชน์ต่อสังคม สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการฝึกอบรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของพนักงานทุกระดับในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (รายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ในหัวข้อการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน หรือรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน)

2. นโยบายการต่อต้านการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นและห้ามจ่ายสินบน

บริษัทฯ ขอปฎิเสธ และไม่ยอมรับการคอร์รัปชั่นใดๆ ทั้งสิ้น และบริษัทในเครือ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับบริษัทฯ ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้กำหนดขั้นตอนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชั่น เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามนโยบายนี้ และจะสอบทานขั้นตอนการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย และรักษาชื่อเสียงของบริษัทฯ โดยพนักงานทุกคนของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ ต้องปฏิบัติตามนโยบายนี้โดยทั่วกัน

คณะกรรมการได้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น ตลอดจนปลูกฝังให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร

นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น

  1. บริษัทฯ มีนโยบายการดำเนินธุุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุุจริต โปร่งใส และเป็นไปตามหลักจริยธรรม โดยมุ่งเน้นให้พนักงาน มีทัศนคติในการร่วมกันต่อต้าน แก้ไข และรับผิดชอบต่อปัญหาการคอร์รัปชั่่น รวมถึงเผยแพร่ให้พนักงานทุุกคนมีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติงานต่างๆ โดยสุุจริต และเป็นไปตามนโยบายที่บริษัทฯ กำหนด
  2. บริษัทฯ ไม่ยอมรับการคอร์รัปชั่่นใดๆ และมุ่งมั่นในการดำเนินธุุรกิจอย่างมีคุุณธรรม ซื่อสัตย์ และยุุติธรรม มีการกำหนดมาตรการที่่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านคอร์รัปชั่่น และกำหนดให้ผู้กระทำการคอร์รัปชั่่นเป็น ผู้มีความผิดซึ่่งมีบทลงโทษตามกฎหมาย
  3. บริษัทฯ จะให้ความร่วมมือและสนับสนุุนการดำเนินงานตามนโยบายเพื่่อต่อต้านคอร์รัปชั่่น โดยส่งเสริมให้มีการตรวจสอบและติดตาม การควบคุุมการใช้อำนาจให้มีความเหมาะสม ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายที่่เกี่่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชั่่น
  4. บริษัทฯ กำหนดมาตรฐานของรููปแบบและแนวทางการสืบสวน สอบสวน รวมถึงการพิจารณาคดีความผิดดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นไปตามมาตรฐานระบบบริหารจัดการความมั่่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (ISMS-PC-04-13 และ ISMS-PC-04-14)

ขอบเขตของนโยบาย

  1. นโยบายนี้้บังคับใช้กับพนักงานของบริษัทฯ ทุุกคนที่่ปฏิบัติงานอยู่ในทุุกระดับชั้นรวมถึงพนักงานในสาขาของบริษัทฯ ทั้้งหมด และ/หรือ บุคคลอื่นๆ ที่่เกี่่ยวข้อง
  2. บริษัทฯ กำหนดให้มีการทำข้อตกลงให้พนักงานทุุกคนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและนโยบายของบริษัทฯ รวมถึงการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชั่่น ในสัญญาจ้างงานหรือข้อตกลงใดๆ ระหว่างบริษัทฯ กับพนักงาน
  3. หากมีความขัดแย้งหรือข้อแตกต่างใด ๆ ที่่ขัดกับนโยบายของบริษัทฯ หรือระเบียบและกฎหมายที่่เกี่่ยวข้องให้ถือปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายที่่เข้มงวดกว่า
  4. นโยบายนี้มีการปรับใช้กับบริษัทในเครือด้วยพร้อมทั้้งกำหนดให้บริษัทในเครือจัดทำนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่่นของแต่ละบริษัทขึ้น โดยให้มีเนื้้อหานโยบายที่่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของนโยบายนี้

มาตราการในการประเมินความเสี่ยงในการคอร์รัปชั่น

บริษัทฯ จัดให้มีการประเมินความเสี่ยง เพื่อวิเคราะห์ว่ากรณีใดถือเป็นกรณีที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการคอร์รัปชั่น โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. การเตรียมแผนงาน
  2. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
  3. การระบุความเสี่ยง
  4. การประเมินระดับความเสี่ยง
  5. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตราการควบคุมความเสี่ยงที่มีอยู่ และการประเมินความเสี่ยงที่คงเหลือ
  6. การนำข้อมูลจากการประเมินความเสี่ยงไปจัดทำมาตราการป้องกันการให้สินบนที่เหมาะสม และการรายงานผล

การสื่อสารภายในองค์กร

บริษัทฯ จัดช่องทางการสื่อสารนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชั่น ซึ่งรวมถึงขั้นตอนการขออนุมัติ วิธีการปฏิบัติในการหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่น โดยบริษัทฯ มีช่องทางการแจ้งข้อมูลการคอร์รัปชั่น หรือข้อร้องเรียน หรือข้อเสนอแนะภายในบริษัทฯ ผ่านหลากหลายช่องทาง เช่นผ่านทางอินทราเน็ตภายในองค์กร ผ่านทางอีเมล์ ผ่านการอบรมหลักสูตรปฐมนิเทศ เพื่อให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการต่อต้านการคอร์รัปชั่น

การปกป้องผู้ที่รายงานข้อมูลการคอร์รัปชั่น

  1. บริษัทฯ ให้การสนับสนุนและเปิดกว้างแก่พนักงานในการแจ้งเบาะแสการกระทำผิดตามความเป็นจริงตามนโยบาย แม้จะปรากฏในภายหลังว่าเบาะแสดังกล่าวเป็นการเข้าใจผิดก็ตาม โดยบริษัทฯไม่มีนโยบายลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชั่น แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทฯ สูญเสียโอกาสทางธุรกิจก็ตาม
  2. บริษัทฯ ให้คำมั่นว่าจะไม่มีพนักงานคนใด ได้รับผลเสียจากการปฏิเสธการมีส่วนร่วมในการคอร์รัปชั่น รวมถึงการรายงานด้วยเจตนาอันดี เกี่ยวกับพฤติกรรมที่น่าสงสัยในการรับสินบนหรือการทุจริตอื่นๆที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในอนาคต
  3. หากพนักงานได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมอื่นอันเกี่ยวเนื่องจากการแจ้งข้อมูลการคอร์รัปชั่น พนักงานต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชา ผู้บริหารสูงสุดของแผนก/ฝ่าย/หรือผู้บังคับบัญชาตามสายงานรับทราบโดยด่วน

3. นโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

หลักการ

นโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “นโยบายฯ” ของบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “บริษัท” ได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดหน้าที่ให้บริษัทต้องดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ เพื่อป้องกันมิให้บริษัทถูกใช้เป็นช่องทางหรือเป็นเครื่องมือในการฟอกเงินหรือสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

นอกจากนี้ยังเป็นการดำเนินตามนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ของบริษัท AEON Financial Service Co., Ltd. ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “AFS” ได้จัดทำนโยบาย AFS Group Basic Policy for Prevention of Money Laundering and Terrorist Financing เพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายและบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง จึงได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติสำหรับบริษัทในเครือและกลุ่มบริษัท ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า AFS Group โดย AFS Group ตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะผู้ให้บริการทางการเงิน จึงพิจารณาภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนการก่อการร้าย เป็นภารกิจหลักที่สำคัญระดับสูงสุดของผู้บริหารในการบริหารองค์กร จึงกำหนดภารกิจให้กลุ่มบริษัท AFS Group มีหน้าที่ต้องปฏฺบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศด้วย เพื่อเป็นการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

นอกจากนี้นโยบายเล่มนี้จัดทำขึ้น ในการนี้ จึงได้กำหนดให้มีการกำหนดนโยบายฉบับนี้ขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้กับผู้บริหาร พนักงาน และรวมถึงกลุ่มบริษัทในเครือได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

นโยบายฯของบริษัท

เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายไว้ดังนี้

  1. บริษัทสนับสนุนและพร้อมปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และดำเนินกระบวนการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าอย่างเคร่งครัด รวมถึงการรายงานธุรกรรมและปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามกฎหมายดังกล่าวอย่างครบถ้วน
  2. บริษัทกำหนดให้มี แนวปฏิบัติ หรือวิธีปฏิบัติ หรือคู่มือปฏิบัติในการรับลูกค้า โดยกำหนดกระบวการเพื่ออนุมัติการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ หรือการทำธุรกรรมหรือปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ หรือ ปฏิเสธการทำธุรกรรมกับลูกค้านับแต่เมื่อได้รับความประสงค์หรือการแจ้งจากลูกค้าเพื่อขอเริ่มความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการทำธุรกรรมที่บริษัทให้บริการทุกประเภทตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้บรรลุนโยบายและระเบียบวิธีการรับลูกค้าโดยให้บุคลากรดำเนินการตามขั้นตอนการขอหรือการแสวงหาข้อมูลการแสดงตนของลูกค้า ขั้นตอนการขอหรือแสวงหาข้อมูลเพื่อระบุตัวตนของลูกค้า ขั้นตอนการระบุผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้า ขั้นตอนการพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้าและผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้ากับข้อมูลรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และขั้นตอนการอนุมัติหรือปฏิเสธการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจหรือการทำธุรกรรมนับแต่เมื่อได้รับแจ้งความประสงค์จากลูกค้า
  3. บริษัทกำหนดให้มีการกำหนดแนวปฏฺบัติ หรือวิธีปฏิบัติหรือคู่มือปฏิบัติที่กำหนดมาตรการและวางหลักเกณฑ์เพื่อบริหารและบรรเทาความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงของลูกค้าโดยกำหนดให้มีหลักเกณฑ์และปัจจัยความเสี่ยงให้สอดคล้องกับที่กฎหมายกำหนด และจะดำเนินการบริหารความเสี่ยงตลอดระยะเวลาที่ยังดำเนินความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้าจนยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้า การบริหารความเสี่ยง เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินเพื่อระบุตัวตนและพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้า ขั้นตอนการกำหนดระดับความเสี่ยงของลูกค้า ขั้นตอนการตรวจทานความเคลื่อนไหวในการทำธุรกรรมซึ่งสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของลูกค้า ขั้นตอนการตรวจทานข้อมูลการพิสูจน์ทราบลูกค้าที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงลูกค้า ขั้นตอนการทบทวนการประเมินความเสี่ยง จนถึงขั้นตอนการยุติความสัมพันธ์ และการเก็บรักษาข้อมูลการแสดงตน การระบุตัวตน และพิสูจน์ทราบตัวตน การตรวจสอบความเคลื่อนไหวในการทำธุรกรรม และการประเมินความเสี่ยงลูกค้าตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้บรรลุนโยบายและระเบียบวิธีในการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ บริษัทจะกำหนดคู่มือปฏิบัติเพื่อให้บุคลากรบริหารความเสี่ยงของลูกค้าในบริการทุกประเภทและทุกช่องทางการให้บริการ รวมถึงกรณีที่บริษัทจะมีการดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ มีการให้บริการใหม่ หรือกำหนดรูปแบบใหม่ ในการดำเนินธุรกิจหรือช่องทางหรือกลไกใหม่ในการให้บริการ หรือกรณ๊ที่จะมีการนำเทคโนโลยีใหม่หรือ เทคโนโลยีที่กำลังพัฒนามาใช้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีอยู่เดิมและที่จะมีขึ้นใหม่
  4. บริษัทฯ จะรายงานธุรกรรมไปยังสำนักงาน ปปง. โดยกำหนดประเภทธุรกรรม วิธีการ และขั้นตอนการรายงานธุรกรรมให้ชัดเจน
  5. บริษัทฯ กำหนดให้มีมาตรการควบคุมภายในที่เป็นอิสระ เหมาะสมกับความเสี่ยงภายในองค์กรและขนาดธุรกิจของบริษัทฯ โดยรายละเอียดของนโยบายและระเบียบวิธีการเกี่ยวกับการควบคุมภายในให้เป็นไปตามประกาศสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เรื่อง การกำหนดและดำเนินการตามนโยบายและระเบียบวิธีการเกี่ยวกับการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อตรวจสอบระบบการดำเนินงานและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
  6. บริษัทกำหนดมาตราการในการดำเนินงานเกี่ยวกับการร่วมใช้ข้อมูลระหว่างบริษัทกับสาขาหรือบริษัทในเครือทั้งในประเทศและต่างประเทศ และอยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน
  7. บริษัทฯ กำหนดให้เก็บรักษารายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงตน การทำธุรกรรมและบันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกรรมที่ต้องรายงาน การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
  8. บริษัท มีข้อห้ามมิให้กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ตัวแทน และสำนักงานผู้ดำเนินการแทน มีส่วนข้องเกี่ยว หรือสนับสนุน หรือช่วยเหลือ หรือมีส่วนรู้เห็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน การก่อการร้าย หรือการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง หรือเป็นผู้ที่มีรายชื่อตามที่กฎหมายกำหนด และห้ามมิให้กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ตัวแทน และสำนักงานผู้ดำเนินการแทนเปิดเผยข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันอาจทำให้ลูกค้าหรือบุคคลภายนอกทราบเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า การรายงานธุรกรรม หรือการส่งข้อมูลอื่นใดไปยังสำนักงาน ปปง. เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาลหรือเป็นการเปิดเผยข้อมูลระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขา
  9. บริษัทกำหนดให้พนักงานระดับบริหารมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและกฎหมายว่าด้วยปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และพนักงานระดับบริหารอาจจัดตั้งหน่วยงานภายในองค์กรเพื่อป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงเพื่อเป็นไปตามนโยบายของกลุ่มบริษัท หรือเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  10. บริษัทกำหนดให้มีการกำกับดูแล ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ ในการปฎิบัติตามกฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และจัดให้พนักงานได้รับการฝึกอบรมตามนโยบายการฝึกอบรมของบริษัทฯ เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับนโยบายของบริษัท
  11. บริษัทกำหนดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการตามนโยบายหลัก นโยบายรอง และแนวทางการปฏิบัติงานอย่างครบถ้วน โดยให้อำนาจการตรวจสอบภายในนั้นเป็นไปโดยอิสระ ไม่มีการแทรกแซงจากหน่วยงานใด
  12. บริษัทกำหนดให้มีมาตรการในการกำกับดูแลให้สำนักงาน สาขา บริษัทในเครือที่ตนถือหุ้นใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ทั้งในประเทศไทย และในต่างประเทศ มีการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง อย่างเคร่งครัด โดยพิจารณาถึงปัจจัยความเสี่ยงด้านพื้นที่หรือกลุ่มประเทศเสี่ยงเป็นปัจจัยหนึ่งในการดำเนินการ ในกรณีที่มาตรการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงของประเทศที่สำนักงาน สาขา บริษัทในเครือตั้งอยู่ มีความเข้มงวดแตกต่างจากมาตรการตามกฎหมายไทย ให้สำนักงาน สาขา บริษัทในเครือถือปฏิบัติตามมาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวดกว่า
  13. บริษัทกำหนดให้มีแนวทางการกำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินการของบุคคลที่สาม ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

บริษัทฯ ได้ทำการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการเป็นประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

4. ช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการกระทำผิด

บริษัทฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารกิจการที่ดี (Good Governance) โดยกำหนดเป็นนโยบายให้พนักงานทุกลำดับชั้นให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานที่โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ บริษัทฯ จัดให้มีการอบรม และพัฒนาความรู้ให้แก่พนักงานในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

บริษัทฯ ได้จัดให้มีช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสการกระทำผิด สำหรับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ โดยสามารถแจ้งได้หลายช่องทาง ได้แก่

  • สาขาทั้ง 103 สาขาทั่วประเทศ
  • Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 02-665-0123
  • จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail): csd@aeon.co.th
  • นักลงทุนสัมพันธ์: ir@aeon.co.th 

บริษัทฯ จัดให้มีกระบวนการที่ชัดเจนในการรับเรื่องร้องเรียน โดยข้อมูลเรื่องร้องเรียนรวมถึงชื่อผู้ร้องเรียนจะได้รับการปกปิดตัวตนไว้เป็นความลับพนักงานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ ในกรณีที่ได้รับเรื่องร้องเรียน ผู้รับเรื่องร้องเรียนจะมีการบันทึกข้อมูล และดำเนินการแก้ไขตามความเหมาะสมโดยไม่ชักช้า รวมถึงรายงานผลการดำเนินการให้กับผู้บริหารหรือคณะกรรมการบริษัทฯทราบตามแต่กรณีด้วย

อีกทั้ง บริษัทฯ จัดทำช่องทางการร้องเรียนในกรณีพนักงานไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ว่าจะเกิดจากการดำเนินการของบริษัทฯ ผู้บังคับบัญชา หรือ พนักงานด้วยกัน และเมื่อได้รับเรื่องราวดังกล่าวแล้ว หน่วยงานและผู้รับผิดชอบที่บริษัทแต่งตั้งขึ้นมีหน้าที่ตรวจสอบ สอบสวน และพิจารณาผล โดยไม่ชักช้า พร้อมทั้ง รายงานผลตรงต่อผู้บริหารระดับสูง ทั้งนี้ ผู้ร้องเรียนจะได้รับการปกปิดตัวตนไว้เป็นความลับอย่างดี โดยบริษัทมีช่องทางการร้องเรียนที่หลากหลาย อันประกอบไปด้วย ช่องทางผ่านทางอีเมลล์ และช่องทางอื่น เช่น โทรศัพท์ เป็นต้น

หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

1. การเปิดเผยข้อมูล

การเปิดเผยสารสนเทศเป็นหนึ่งในหลักการที่มีความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยบริษัทฯมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลให้แก่บุคคลภายนอก เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินเป็นไปอย่างถูกต้อง เพียงพอ รวดเร็ว และมีความเท่าเทียมกัน ของการให้ข้อมูลแก่ทุกกลุ่ม รวมทั้งเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยนอกจากจะเปิดเผยข้อมูลผ่านแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1 One report แล้ว ข้อมูลส่วนใหญ่ได้นำเสนอทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษซึ่งช่วยให้ผู้ถือหุ้น ลูกค้า และผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีความเท่าเทียมกันและเชื่อถือได้

บริษัทฯ ยังได้ทำการเผยแพร่ธุรกรรมทางการเงินที่สำคัญ แก่นักวิเคราะห์ และนักลงทุน รวมทั้งได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์ (http://www.aeon.co.th) ตลอดจนให้ข้อมูลและตอบข้อซักถามนักลงทุนและสื่อมวลชนผ่านทางโทรศัพท์ และทางอีเมลเป็นประจำ

ทั้งนี้ ข้อมูลทางการเงิน โดยเฉพาะในส่วนของงบการเงินนั้น ได้ผ่านการสอบทาน/ตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป และได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ/คณะกรรมการบริษัทฯ ก่อนเปิดเผยต่อสาธารณชน โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้รายงานความรับผิดชอบต่อรายงานทางการเงินใน 56-1 One report ด้วย สำหรับข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งได้แก่รายการระหว่างกัน คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ การบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลกิจการ บริษัทฯ ได้เปิดเผยรายการดังกล่าวไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1 One report เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์ พร้อมทั้งเผยแพร่ในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และได้มีการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการเปิดเผยข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

รายละเอียดข้อมูลที่สำคัญอื่นๆ อาทิ ประวัติกรรมการ บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการ และจำนวนครั้งที่กรรมการแต่ละคนเข้าร่วมการประชุมพร้อมทั้งค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ฯลฯ สามารถดูได้จากในรายงานแบบ 56-1 One report ที่บริษัทฯ เปิดเผยเป็นประจำทุกปี

บริษัทฯ มีการเปิดเผยข้อมูลการถือครองหุ้นของกรรมการและผู้บริหารทั้งทางตรงและทางอ้อม (การถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) ไว้ในแบบแสดงรายการ 56-1 One report ในหัวข้อ “การจัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์”

2. งานนักลงทุนสัมพันธ์

บริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations Section) เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของบริษัทที่เป็นประโยชน์ ให้แก่นักลงทุนรายย่อยและสถาบันนักวิเคราะห์ ผู้ถือหุ้น และบุคคลอื่นๆ ซึ่งนักลงทุนหรือผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลข่าวสารของบริษัทฯ เช่น ข้อมูลงบการเงิน รายงานประจำปี (56-1 One Report) คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion & Analysis) และข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือ ก.ล.ต. ฯลฯ ได้โดยตรงจากหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์

ข้อมูลการติดต่อกับหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์.

ที่อยู่ : บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 388 ชั้น 27 อาคารเอ็กเชน ทาวเวอร์ ถนนสุขุมวิท
แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
เว็บไซต์ : http://www.aeon.co.th เลือกเมนู “นักลงทุนสัมพันธ์”
โทรศัพท์ : 0-2302-4721-3
โทรสาร : 0-2302-4470
E-Mail [email protected]

 

บริษัทฯ จัดให้หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์มีการนำเสนอข้อมูลแก่นักวิเคราะห์และนักลงทุน ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ covid-2019 หน่วยงานจึงใช้รูปแบบการประชุมผ่านทางระบบออนไลน์เป็นหลัก โดยในปีบัญชี 2564 ได้จัดให้มีการนำเสนอข้อมูล ดังนี้

 

รูปแบบการเข้าพบ

จำนวนครั้ง

จำนวนบริษัท

การประชุม (Conference Call + Online meeting)

38

259

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยการจัดประชุมแถลงผลการดำเนินงานประจำปี (Analyst Meeting)

2

31

รวม

40

290

 

หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ

คณะกรรมการบริษัทฯ มีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อบังคับของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้ว่าในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการหนึ่งในสามที่กำหนดไว้ว่าในการประชุมผู้ถือหุ้น (1/3) ของจำนวนกรรมการในขณะนั้นพ้นจากตำแหน่ง ถ้าจำนวนกรรมการที่จะพ้นจากตำแหน่งไม่อาจแบ่งออกได้พอดีหนึ่งในสาม (1/3) ก็ให้ใช้จำนวนที่ใกล้เคียงกันกับหนึ่งในสาม (1/3) แต่ไม่เกินหนึ่งในสาม (1/3) ของจำนวนกรรมการที่จะลาออกทั้งหมด ทั้งนี้ กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับเลือกให้กลับมารับตำแหน่งอีกก็ได้

การดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นของกรรมการบริหาร

บริษัทฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับจำนวนบริษัทที่กรรมการบริหารจะสามารถดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นได้ เป็นจำนวนไม่เกิน 5 บริษัท ซึ่งเป็นไปตามหลักการและแนวทางปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่ทางสำนักงานกำกับดูแลกิจการได้กำหนดไว้ โดยการกำหนดแนวปฏิบัติดังกล่าวมีขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่ากรรมการบริหารของบริษัทฯ สามารถทุ่มเทเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่บริษัทได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดยรายละเอียดของการดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่นของกรรมการและกรรมการผู้จัดการ เปิดเผยไว้ในเอกสารแนบ1

อำนาจอนุมัติของคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัทมีอำนาจอนุมัติเรื่องต่างๆ ของบริษัทตามขอบเขตหน้าที่ที่กำหนดโดยกฎหมาย ข้อบังคับของบริษัท กฏบัตรคณะกรรมการบริษัท และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งรวมถึงการกำหนด และทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ในการดำเนินงาน นโยบายการบริหารความเสี่ยง แผนงบประมาณและแผนดำเนินธุรกิจประจำปี การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการของผลการดำเนินงาน รวมถึงรายการระหว่างกันที่สำคัญ

การประชุมคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยสามเดือนต่อครั้ง และอาจมีการประชุมพิเศษเพิ่มเติมตามความจำเป็น ซึ่งได้มีการกำหนดตารางการประชุมล่วงหน้าเป็นรายปี เพื่อให้คณะกรรมการสามารถจัดเวลาและเข้าร่วมประชุมได้ โดยเอกสารประกอบการประชุมได้ถูกส่งให้กรรมการเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนการประชุม โดยเฉพาะวาระสำคัญที่มีเอกสารข้อมูลที่ต้องใช้เวลาศึกษาล่วงหน้าจะส่งเอกสารในวาระนั้นๆ ก่อนเพื่อให้มีระยะเวลาพิจารณาอย่างเพียงพอโดยคณะกรรมการสามารถเชิญผู้บริหาร หรือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องต่างๆ เข้ามาเพื่อสอบถามข้อมูลได้โดยตรง ในระหว่างการประชุม

อนึ่ง ตามข้อบังคับของบริษัทฯในการประชุมคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการมาร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง(1/2)ของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะครบองค์ประชุม อย่างไรก็ตามในทางปฎิบัติในการลงมติประชุม องค์ประชุมของคณะกรรมการขณะลงมติในที่ประชุมมีกรรมการที่เข้าร่วมประชุมอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนคณะกรรมการทั้งหมด โดยบริษัทฯได้ดำเนินการเช่นนี้มาเป็นเวลานาน โดยในปีบัญชี2564 กรรมการแต่ละคนเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ดังรายละเอียดปรากฏบนหัวข้อ สรุปการเข้าประชุมของคณะกรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อยในปี 2564 นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการแต่ละครั้งเปิดโอกาสให้กรรมการแต่ละท่านแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางและเป็นอิสระ ทำให้การพิจารณาตัดสินใจเป็นไปด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบ ทำให้การประชุมคณะกรรมการแต่ละครั้งดำเนินการไปด้วยระยะเวลาที่เหมาะสมตามแต่วาระการประชุมในแต่ละครั้ง และบริษัทฯ ได้จัดให้มีระบบการประชุมผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Online Meeting) สำหรับกรรมการที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองได้ นอกจากนี้ ได้จัดให้มีการจดบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร และจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ โดยในปีบัญชี 2564 บริษัทจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัททั้งหมด 13 ครั้ง (รายละเอียดจำนวนการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอยู่ภายใต้หัวข้อการรายงานผลการดำเนินงานสำคัญด้านการกำกับดูแลกิจการ)

แผนสืบทอดงาน

บริษัทฯ มีการพัฒนาผู้บริหารให้พร้อมสำหรับการโยกย้ายตำแหน่งภายใน สำหรับการสืบทอดงานของตำแหน่งกรรมการผู้จัดการนั้น เป็นไปตามนโยบายของผู้ถือหุ้นใหญ่

จรรยาบรรณธุรกิจ

  • กลุ่มบริษัท ที่ประเทศญี่ปุ่น จัดให้มี อิออน จรรยาบรรณธุรกิจ (AEON Code of Conduct) เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของกลุ่มบริษัทอิออน ยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของบริษัทฯ โดยมีการกำหนดเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ จรรยาบรรณต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ และมีการจัดอบรมทบทวนจากบริษัท อิออน จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) ให้กับผู้บริหารของบริษัทฯ เป็นประจำทุกปีนอกจากนี้ บริษัทฯ ได้มีการจัดช่องทางการสื่อสารเกี่ยวกับ AEON Code of Conduct ผ่านทาง ระบบอินทราเน็ต ที่พนักงานสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและทั่วถึง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติตาม
  • จรรยาบรรณธุรกิจของ AEON – ปฏิญญา

    - บุคลากรของ AEON จะต้องเห็นคุณค่าของข้อเท็จจริงที่ว่าพวกเขาได้รับการสนับสนุนจากผู้คนมากมายและมีความนอบน้อมตลอดเวลา

    - บุคลากรของ AEON จะต้องเห็นคุณค่าของความเชื่อใจซึ่งกันและกันเหนือสิ่งอื่นใดและปฏิบัติตัวอย่างซื่อสัตย์และจริงใจตลอดเวลา

    - บุคลากรของ AEON จะต้องขัดเกลาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเราจะสามารถแปลงความคาดหวังของลูกค้าให้เป็นความปิติได้

    - บุคลากรของ AEON จะต้องเผชิญความท้าทายต่อไปโดยปราศจากความลังเลเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่การตระหนักในอุดมคติของ AEON

    - บุคลากรของ AEON จะต้องทำงานร่วมกันในฐานะประชากรที่ดีของสังคม ด้วยความหวังที่จะให้ประชาคมที่ตนทำงานให้เติบโตต่อไป

  • บริษัทฯ มีขั้นตอนที่ชัดเจนในการดูแลรายการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์โดยกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานยึดถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุน และตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน
  • คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุมการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร และจัดตั้งหน่วยงานบริหารความเสี่ยง เพื่อรับผิดชอบงานในด้านการบริหารความเสี่ยง และรายงานต่อผู้บริหารเป็นรายเดือน ซึ่งมีการจัดประชุมเป็นประจำทุกเดือน โดยมีการประชุมผ่านทางผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Online Meeting) ร่วมกับบริษัทในเครือในต่างประเทศ และบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ บริษัทฯ มีส่วนงานตรวจสอบภายในเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบ ประเมิน ให้ข้อเสนอแนะ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลกิจการ

    นอกจากนี้ บริษัทได้จัดตั้งหน่วยงาน Internal Control Office เพื่อพัฒนาระบบการควบคุมภายในตั้งแต่ต้นจนจบของบริษัทฯ และมีการจัดประชุมของหน่วยงานกับผู้บริหารในทุกๆเดือน ระบบการควบคุมภายในนี้เป็นการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย Sarbanes Oxley ฉบับประเทศญี่ปุ่น (J-SOX) ซึ่ง Financial Service Agency (FSA) เป็นผู้ออกกฎหมายเพื่อนำมาบังคับใช้กับทุกบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่น ภาระกิจหลักของหน่วยงานนี้คือ เพื่อจัดตั้งการควบคุมภายในระดับองค์กร วิเคราะห์และทำให้เห็นภาพของกระบวนการหลักในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เป็นต้น เพื่อให้บรรลุถึงความน่าเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาอนุมัติหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งกรรมการอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ และคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ฯ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นไปตามนโยบายของ J-SOX ตั้งแต่ปี 2551

  • นโยบายทรัพย์สินทางปัญญา
  • บริษัทให้ความสำคัญและเคารพในสิทธิ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่นโดยจะไม่กระทำการใดๆอันเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและจะนำมาใช้ต่อเมื่อได้รับสิทธิในการใช้งานแล้วเท่านั้น

บริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเสมอมา โดยได้พัฒนาระบบภายในและเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน เมษายน 2550 มูลนิธิอิออนประเทศไทย (มูลนิธิฯ) ได้ก่อตั้งขึ้นเนื่องในวาระครบรอบปีที่ 15 ของการก่อตั้งบริษัทฯ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเหลือพัฒนาสังคม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ทั้งนี้ มูลนิธิอิออนประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนหลักจากบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มอิออนอย่างต่อเนื่องในการประกอบกิจกรรมการกุศลตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

การดูแลข้อมูลของบริษัทฯและข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

บริษัทฯ มีหน่วยงานสนับสนุนงานคุณภาพองค์กร หรือ Corporate Quality Secretariat (CQS) เพื่อให้ความรู้และตระหนักถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบริษัทฯ และข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่ในการเข้าถึงข้อมูลบริษัทฯ ในแต่ละระดับอย่างชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานตามข้อบังคับของ บริษัทฯ ในสถานที่ทำงาน และจัดระเบียบการบริหารความ ปลอดภัยในข้อมูลต่างๆ โดยมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดประเมินผลการปฏิบัติงานให้ได้ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน การฝึกอบรม พนักงาน การทบทวนแผนการปฏิบัติงาน การวัดระดับความเสี่ยงในการบริหารงานในทุกส่วนงานเพื่อป้องกัน ความเสี่ยงในทรัพย์สินและข้อมูลของบริษัทฯ และการจัดระเบียบและระบบควบคุม การเข้าออกสถานที่ทำงานในแต่และส่วนงาน รวมถึงการส่งข้อมูลไปยังบุคคลภายนอกองค์กร ฯลฯ

บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2005 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลจากบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรฐานดังกล่าวเป็นที่รู้จักในฐานะกรอบการทำงานที่ระบุถึงข้อกำหนดในการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของทรัพย์สินด้านข้อมูล ซึ่งเปรียบเสมือน การรับประกันว่า บริษัทฯ ได้ปกป้องคุ้มครองข้อมูลด้วยวิธีการที่ดีที่สุดเฉกเช่นเดียวกับองค์กรชั้นนำระดับโลก และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลให้มีประสิทธิภาพเป็นอันดับแรกเสมอ

นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001:2008 อันเป็นมาตรฐานสากลของระบบบริหารงานคุณภาพ จากบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งการรับรองดังกล่าว เปรียบเสมือนการรับประกันว่า บริษัทฯ จะสามารถให้การบริการที่สอดคล้องต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รวมทั้งสอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 บริษัทในกลุ่มอิออนมีนโยบายหลักในการตอบแทนสังคมซึ่งเป็นฐานในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในช่วงทศวรรษนี้ได้เกิดภาวะโลกร้อนและภาวะอากาศแปรปรวนไปทั่วโลก กลุ่มบริษัทอิออนจึงให้มีนโยบายในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนและภาวะอากาศแปรปรวน เช่น การปลูกต้นไม้และรักษาแหล่งน้ำ ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมปลูกต้นไม้ขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี อาทิเช่น กิจกรรมปลูกป่าที่กำแพงเมืองจีนซึ่งจัดขึ้นโดย มูลนิธิอิออน เพื่อสิ่งแวดล้อม โครงการปลูกต้นไม้มูลนิธิอิออนประเทศไทย ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี รวมถึงการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ อาทิเช่น มอบเงินบริจาคให้กับ “มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย” ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั้งในช่วงเกิดเหตุและฟื้นฟูอาชีพหลังเกิดเหตุ โดยการมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบอุทกภัย ณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และบริจาคเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกให้กับเกษตรกรที่รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดปทุมธานี

ในปี 2555 บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มอิออน ร่วมกับมูลนิธิอิออนประเทศไทย ยังคงให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ป่าไม้ จึงจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ภายใต้โครงการ “ปลูกป่ารวมใจภักดิ์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติ 85 พรรษา” ร่วมกับอุทยานแห่งชาติศรีลานนา อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีอาสาสมัครทั้งจากบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มอิออน และชาวบ้านในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO14001 : 2004 อันเป็นมาตรฐานสากลของระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมจากบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อสร้างความมั่นใจในการบริการ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม และได้เผยแพร่นโยบายดังกล่าวให้กับพนักงาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาธารณชนได้รับทราบ

กิจกรรมสาธารณประโยชน์

  บริษัทฯ มีนโยบายในการตอบแทนสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดให้มีกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2550 และยังคงจัดให้มีต่อเนื่องไปทุกปี อาทิเช่น กิจกรรม “อิออนร่วมร้อยหัวใจไทยร่วมสมทบทุนเพื่อมูลนิธิชัยพัฒนา ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี กิจกรรมบริจาคโลหิตทุกไตรมาส  กิจกรรมเลี้ยงอาหารกลางวันพร้อมมอบทุนการศึกษาและของขวัญให้กับเด็กๆ ผู้ด้อยโอกาสและพิการทางการได้ยิน กิจกรรมบริจาคพจนานุกรมให้แก่เด็กนักเรียนในชนบทที่ขาดแคลน มอบเงินบริจาคให้กับสภากาชาดไทยเพื่อสมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในสาธารณรัฐเฮติ บริจาคอุปกรณ์กันหนาวให้แก่ ผู้ประสบภัยหนาว ณ จังหวัดหนองคายร่วมกับสภากาชาดไทย จัดโครงการ AEON We Care โดยบริจาครถพยาบาลฉุกเฉินให้กับสภากาชาดไทย และบริจาคเงินให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ฯ

ในปี 2555 นอกเหนือจากกิจกรรมการบริจาคโลหิต กิจกรรมมอบเงินช่วยเหลือมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ และการบริจาคอุปกรณ์กันหนาวแล้ว บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มอิออน ร่วมกับมูลนิธิอิออนประเทศไทยได้สานต่อโครงการ “ห้องสมุดอิออน” เป็นปีที่ 2 ณ จังหวัดลพบุรีและและบริจาคหนังสือให้กับโรงเรียนในจังหวัดอยุธยา โดยมีเป้าหมายหลักในเพื่อการฟื้นฟูสถานศึกษาหลังประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2554 รวมถึงการคืนชีวิตให้กับห้องสมุดในโรงเรียนระดับประถมถึงมัธยมศึกษาที่ยังขาดแคลน นอกจากนี้ ยังมีการมอบทุนการศึกษาให้กับนิสิตนักศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นทุนการศึกษาแบบต่อเนื่องมอบให้ตั้งแต่ปีที่หนึ่งจนกระทั่งจบการศึกษาในปีที่ 4

และเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2555 มูลนิธิอิออนประเทศไทยได้รับการรับรองจากกระทรวงการคลังให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลลำดับที่ 773 ผู้ที่บริจาคเงินให้กับมูลนิธิฯ สามารถนำใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยมูลนิธิฯ เป็นค่าใช้จ่ายในการหักลดหย่อนภาษีได้ในปลายปี
 มูลนิธิอิออนประเทศไทย คลิกที่นี่ รายงานความรับผิดชอบคลิกที่ี่